วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม

ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม
ความหมายของวรรณกรรมสำหรับเด็ก
                วรรณกรรมสำหรับเด็กเป็น หนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อให้เด็กอ่าน หรือฟังอย่างเหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยเนื้อหาสาระสอดคล้องกับความสนใจของเด็ก มีรูปเล่มสวยงามสะดุดตา และสามารถเลือกอ่านได้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน
        วัตถุประสงค์ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก
               1. เพื่อปลูกฝังทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงาม
               2. เพื่อช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและเชาวน์ปัญญา
               3. เพื่อให้เด็กได้รับความบันเทิงใจ ความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน มีสุขภาพจิตที่ดี
               4. เพื่อช่วยให้เกิดความพร้อมในการอ่าน
               5. เพื่อสร้างทักษะในการอ่าน และเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์ด้านต่าง ๆ
               6. เพื่อสร้างลักษณะนิสัยอันดีงาม รวมทั้งลักษณะนิสัยในการอ่าน รักการอ่านและอ่านหนังสือเป็น ตระหนักในคุณค่าของหนังสือ
               7. เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ อันเป็นหนทางเพื่อดับความฟุ้งซ่านยับยั้งนิสัยมั่วสุม เที่ยวเตร่ ประพฤติตนนอกลู่นอกทางโดยเปล่าประโยชน์
               8. เพื่อช่วยให้ชีวิตของเด็กเกิดโลกทรรศน์ มีความรอบรู้กว้างไหล ทันโลก ทันเหตุการณ์
               9. เพื่อถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรม และสร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของไทย อันเป็นผลดีแก่การสร้างความมั่นคงของชาติบ้านเมือง
             10. เพื่อให้เห็นคุณค่าของความเป็นชาติไทย คนไทย และสถาบันของชาติ
คุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็ก
         มีผู้แสดงทัศนะเกี่ยวกับคุณค่าของหนังสือสำหรับเด็กไว้หลายท่านด้วยกัน ซึ่งสรุปรวมกันได้ดังนี้
               1. ช่วยให้เด็กเกิดความพร้อม ความคล่องแคล่ว และเสริมสร้างให้รักการอ่านใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
               2. ช่วยเสริมทักษะและเสริมสร้างบุคลิกลักษณะนิสัย ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งเป็นสื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้และประสบการณ์
ต่าง ๆ
               3. ช่วยให้เด็กได้รับความบันเทิงและตอบสนองความสนใจของเด็กด้วยการอ่าน
               4. ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเอง และผู้อื่น รวมถึงสิ่งที่ผ่านมาในอดีต ข่าวสารความรู้ ความคิด และคำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกต้อง อันจะทำให้เกิดโลกทรรศน์กว้างไกล มีความรอบรู้ ทันโลก ทันเหตุการณ์
               5. ช่วยลับสมองและส่งเสริมเชาวน์ปัญญาให้กับเด็ก
               6. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงในชีวิต มีความหวังในชีวิต มองเห็นทางออกของปัญญา
               7. ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม สร้างศรัทธาในเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็กซึ่งจะทำให้เด็กเห็นคุณค่าของความเป็นชาติและสถาบันที่สำคัญของชาติ
               8. เป็นแหล่งบันดาลใจให้เด็กเกิดจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ประเภทวรรณกรรมสำหรับเด็ก
         1. การแบ่งประเภทมีลักษณะการถ่ายทอด 2 ประเภท คือ
               1.1 วรรณกรรมสำหรับเด็กมุขปาฐะ ได้แก่ วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดกันมา
ด้วยวิธีการบอกเล่า การขับร้อง และการเล่น สืบต่อกันมา วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ ได้แก่ ปริศนาคำทาย เพลงกล่อมเด็ก บทเล่นเด็ก และนิทานพื้นบ้าน
               1.2 วรรณกรรมสำหรับเด็กลายลักษณ์ ได้แก่วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ถ่ายทอดด้วย
การเขียน การพิมพ์ การจารึก และการจาร ไม่ว่าจะกระทำลงบนวัสดุประเภทใด เช่นแผ่นดินเหนียว แผ่นหนัง หิน ใบไม้ เยื่อไม้ กระดาษ ฯลฯ จัดเป็น “วรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทลายลักษณ์”
ทั้งสิ้น

         2. การแบ่งประเภทตามลักษณะของคำประพันธ์เป็นหลัก จำแนก ได้ 2 ประเภท
               2.1 ประเภทร้อยกรอง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือมีการ
กำหนดคณะ เช่น มือของฉัน ของ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ไผ่น้อย ของพูนเพชร บุญประเสริฐ ฯลฯ
               2.2 ประเภทร้อยแก้ว วรรณกรรมสำหรับเด็กที่ไม่มีลักษณะบังคับในการแต่งหรือไม่มี  การกำหนดคณะ เช่น ชีวิตบ้านป่า ของ ประสิทธ์ มุกสิกเกษม จ้าวป่า ของ อำนาจ เย็นสบาย ตุ๊กแกผู้อาภัพ ของ เฉิดฉาย เขมวิชานุรัตน์ ลูกไก่แสนสวย ของสุภา ลือศิริ เป็นต้น

         3. การแบ่งตามลักษณะเนื้อหาเป็นหลัง จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
               3.1 ประเภทสารคดี สารคดี คือเรื่องราวที่เขียนขึ้นเพื่อให้ความรู้และข้อเท็จจริงต่าง ๆ
มากกว่าที่จะให้ความบันเทิงแก่เด็ก ตัวอย่างของวรรณกรรมสำหรับเด็กประเภทนี้ เช่น แม่โพสพ ของ ม.ล.เติบ ชุมสาย คู่มือเลี้ยงปลาตู้ ของวิริยะ สิริสิงห์ เป็นต้น
               3.2 ประเภทบันเทิงคดี หมายถึง วรรณกรรมสำหรับเด็กที่แต่งขึ้นเพื่อให้ความ
เพลิดเพลินบันเทิงในแก่เด็กมากกว่าที่จะให้ความรู้ เช่น เอื้องแซะสีทอง ของวิชา พรหมจันทร์ อ้วนอี๊ดผจญภัย ของ เบญจา แสงมะลิ ฯลฯ

         4. การแบ่งตามจุดมุ่งหมายในการแต่ง จำแนกได้เป็น 3 ประเภท
               4.1 ประเภทหนังสือแบบเรียน (Textbook)
               4.2 ประเภทหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Complementary Readers)
               4.3 ประเภทส่งเสริมการอ่าน (Suplementry Readers)
         5. การแบ่งประเภท ตามลักษณะรูปเล่มและกำหนดเวลาที่ออกเป็นหลัก จำแนกได้เป็น  ประเภท คือ
                5.1 ประเภทหนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษขนาดใหญ่หลายแผ่นพับได้ ไม่เย็บติดกัน หนังสือพิมพ์สำหรับเด็กที่เป็นภาษาไทยยังไม่มีบริษัทใดจัดทำจำหน่าย มีแต่ทำกันขึ้นภายในโรงเรียนเพื่ออ่านกันเองเท่านั้น
                5.2 ประเภทวารสาร(Periodical)
                5.3 ประเภทหนังสือ (Books)
                     5.3.1 หนังสือภาพ (Picture Books)
                     5.3.2 หนังสือภาพชวนขัน (Comic Books)
                     5.3.3 หนังสือทั่ว ๆ ไป (Books)
                5.4 ประเภทจุลสารหรืออนุสาร (Pamphlets)
          6. การแบ่งประเภทตามอายุเป็นหลัก จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท คือ
                6.1 เด็กอายุ 2 - 3 ปี
                6.2 เด็กอายุ 3 - 6 ปี
                6.3 เด็กอายุ 6 -11 ปี
                6.4 เด็กอายุ 11 - 14 ปี
                6.5 เด็กอายุ 14 - 18 ปี
          7. การแบ่งประเภท ตามระดับชั้นเรียนเป็นหลัก จำแนกออกได้ 3 ประเภท คือ
                7.1 เด็กระดับชั้นอนุบาล ซึ่งมีอายุระหว่าง 3 – 6 ปี
                7.2 เด็กระดับชั้นประถมศึกษา ซึ่งอายุระหว่าง 7 – 12 ปี
                7.3 เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษา ซึ่งมีอายุระหว่าง 13 – 18 ปี
          8. การแบ่งประเภทตามรูปแบบเป็นหลัก จำแนกออกเป็น 7 ประเภท คือ
                8.1 หนังสือภาพ
                8.2 วรรณกรรมพื้นบ้าน
                8.3 นิทานสมัยใหม่
                8.4 ร้อยกรอง
                8.5 บันเทิงคดีร่วมสมัย
                8.6 บันเทิงคดีอิงประวัติศาสตร์
                8.7 ความรู้และประวัติบุคคล


ลักษณะทางจิตวิทยาเด็กที่เอื้อต่อการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก

ความต้องการของมนุษย์
               ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็กจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็กแต่ละวัยดังนั้นจึงจำเป็นต้องทราบถึงวัยของเด็กควบคู่ไปกับความต้องการของเด็กจึงจะสามารถสร้างวรรณกรรมได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงเราสามารถจำแนกความต้องการ ได้เป็น2 ประเภทได้แก่ ความต้องการทางร่างกาย คือความต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อตอบสนองร่างกาย และ ความต้องการทางจิตใจ หรือความต้องการทางจิตใจ คือ ความต้องการเพื่อตอบสนองอารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง


ความต้องการของเด็กจำแนกตามวัย
               ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความต้องการของเด็กแต่ละวัยเสียก่อน จึงจะสามรารถสร้างวรรณกรรมได้อย่างเหมาะสมและมีคุณค่า ความต้องการของเด็กแต่ละวัยได้มีผู้ศึกษากันมามาก ผลจากการศึกษาพอจะสรุปได้ดังนี้
    1. วัยเด็กตอนต้น
            - ต้องการความรัก ความสนใจจากพ่อแม่ และแสดงความรักต่อสิ่งต่างๆ อย่างเปิดเผย
            - ต้องการการยอมรับจากสังคม
            - ต้องการให้ผู้ใหญ่เอาใจใส่ตนด้วยการซักถาม
            - ต้องการความเห็นชอบจากผู้ใหญ่
            - ต้องการแนะแนวทางและเอาอย่างผู้ใหญ่
            - ต้องการเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
            - ต้องการมีเพื่อน
            - ต้องการการยกย่อง
    2. วัยเด็กตอนกลาง
            - ความต้องการความสำเร็จ จะทำให้เด็กพอใจ ภาคภูมิใจ มีกำลังใจ และทำสิ่งอื่นต่อไปในอนาคต เด็กทุกๆ               คนต้องการความสำเร็จในชีวิต
            - ต้องการความเด่น การทำกิจกรรมใดก็ตาม เด็กต้องการชนะเพื่อน จึงต้องส่งเสริมความเด่นให้ถูกทาง
            - ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ต้องการความนิยมชมชอบจากเพื่อนๆ
            - ต้องการความรัก ความอบอุ่นใจ ความเห็นอกเห็นใจจากคนอื่น
            - ต้องการความปลอดภัย
            - ต้องการคำยกย่องชมเชยและให้กำลังใจ
            - ต้องการคำแนะนำมากกว่าคำสั่งแกมบังคับเคี่ยวเข็ญ
            - ต้องการอยากรู้อยากเห็น อยากซักถามปัญหาต่างๆ
    3. วัยเด็กตอนปลาย
            - ต้องการพัฒนาความชำนาญหรือความสนใจในการงานของตน
            - ต้องการความช่วยเหลือให้เข้าใจแบบแผนของความเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
            - ต้องการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ
            - ต้องการยอมรับในความสามารถและการได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
            - ต้องการความรักความอบอุ่นและการยกย่องชมเชยจากผู้ใหญ่
            - ต้องการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มซึ่งบางครั้งไม่ต้องการพึ่งผู้ใหญ่ กลุ่มหรือคณะมีอิทธิพลยิ่งสำหรับเด็กวัยนี้
            - ต้องการอิสรภาพเป็นตัวของตัวเอง มักปลีกตัวออกจากพ่อแม่ ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่เข้ามายุ่งในเรื่องส่วนตัว
    4. วัยรุ่น
            - ต้องการปรับปรุงสมรรถภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้มีส่วนในการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค
            - ต้องการที่รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์
            - ต้องการที่จะเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
            - ต้องการที่จะเข้าใจความสำคัญของครอบครัว และปัจจัยต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งความสุขแห่งครอบครัว
            - ต้องการที่จะทราบถึงวิธีจ่ายและใช้สิ่งของ ตลอดจนบริการต่างๆ อย่างฉลาด
            -ต้องการที่จะเข้าใจถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และความเจริญอันสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์   ตลอดจนความจริงต่างๆ ตามธรรมชาติ
            - ต้องการที่จะซาบซึ้งในรสแห่งวรรณคดี ดนตรี ศิลปะและธรรมชาติ กล่าวคือ ต้องการรู้คุณค่า มองเห็นความงดงาม  และความไพเราะของสิ่งเหล่านั้น
            - ต้องการที่จะมีความสามารถในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อย่างดี   และรู้จักแบ่งสันปันส่วนเวลานั้นให้สมดุลกับกิจกรรมต่างๆ ของตน
            - ต้องการที่จะให้ความเคารพนับถือแก่ผู้อื่น และให้ตนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยสงบสุข   ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
            - ต้องการที่จะปรับปรุงความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างแจ่มแจ้ง   และสามารถอ่านและฟังได้อย่างทะลุปรุโปร่ง

การจัดทำรูปเล่มหนังสือสำหรับเด็ก

การจัดทำรูปเล่มหนังสือสำหรับเด็ก
หนังสือสำหรับเด็กควรเป็นหนังสือที่เด็กสามารถตัดสินใจซื้อด้วยความพอใจของตนเองได้ จึงต้องมีจุดเด่นทั้งด้านภาพประกอบ เนื้อหา และรูปเล่ม  ผู้จัดทำต้องออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือโดยใช้หลักเกณฑ์ทางศิลปะ  เพื่อให้หนังสือมีรูปแบบ ภาพ ขนาด ตัวอักษร และสีที่เด็กชื่นชอบ   ความสำคัญของรูปเล่ม  รูปเล่มมีความสำคัญต่อหนังสือในแง่ความสวยงาม การใช้ การเก็บรักษา เป็นสำคัญ   หนังสือที่มีรูปเล่มดีและเหมาะเจาะ ย่อมส่งผลให้เด็กๆ เกิดความอยากอ่านอยากซื้อ

รูปเล่มของหนังสือ
รูปเล่มของหนังสือมี 2 แบบ คือ
1. รูปเล่มแนวตั้ง หมายถึง รูปเล่มที่มีส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง รูปเล่มแนวตั้งเป็นที่นิยมในการพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป
2. รูปเล่มแนวนอน หมายถึง รูปเล่มที่มีส่วนสูงน้อยกว่าส่วนกว้าง รูปเล่มแนวนอนนิยมใช้สำหรับอัลบั้ม

ขนาดและรูปเล่มที่ด
ผลการวิจัยของ สมทรง สีตลายัน เรื่องขนาดและรูปเล่มที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.5-7) พบว่านักเรียนชอบรูปเล่มขนาดกว้าง 6 นิ้ว สูง 8 นิ้วครึ่ง ประเภทแนวตั้งมากที่สุดทุกระดับชั้น และนักเรียนชอบหนังสือแนวตั้งมากกว่าแนวนอน

ส่วนประกอบของหนังสือ
โดยทั่วไปหนังสือมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย

1. ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วยหน้าต่างๆ ซึ่งไม่นิยมใส่เลขกำกับเลขหน้า หรือ จะใส่เลขหน้า ก็เป็นเลขอีกชุดหนึ่ง ส่วนประกอบตอนต้นมีหน้าต่างๆ ดังนี้
       1.1ใบหุ้มปก (Dust Jacket หรือ Book Jacket) ช่วยให้หนังสือสวยงามน่าจับต้องและหยิบอ่าน เป็นส่วนที่ช่วยดึงดูดสายตา และช่วยรักษาหนังสือให้ใหม่อยู่เสมอ
       1.2 ปก (Binding) เป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นหนังสือมปก การออกแบบปกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ภาพและชื่อเรื่องบนปกต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และเป็นที่น่าสนใจเพื่อจะได้ติดตามอ่านเนื้อเรื่องในเล่ม
       1.3 ใบรองปก (Endpapers) ช่วยยึดตัวเล่มหนังสือให้ติดกับปก อาจปล่อยไว้เป็นหน้าว่างๆ ไม่มีข้อความใดๆ หรืออาจออกแบบลวดลายศิลปะที่งดงาม ซึ่งสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และเป็นที่น่าสนใจ
       1.4 หน้าบอกตอน หรือหน้าชื่อเรื่อง (Half-Title Pager) หน้านี้มีข้อความเฉพาะชื่อเรื่อง ชื่อชุด หรือคำอธิบายสั้นๆ หน้าบอกตอนอาจจะมีหรือไม่ก็ได้ หน้าบอกตอนช่วยทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ป้องกันหน้าปกในมิให้ฉีกขาดง่าย หรือสกปรกง่าย และเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเนื้อเรื่องให้ต่อเนื่องกับใบรองปกซึ่งอยู่ต่อจากปก มักเป็นกระดาษว่าง
       1.5 หน้าว่างก่อนหน้าปกใน หรือหน้าว่างหลังใบรองปก หรือหน้าบอกตอน หน้านี้อาจปล่อยให้ว่างไว้ หรือจะมีภาพเต็มหน้า ซึ่งเป็นภาพเด่น (Frontispiece) ที่สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมาพิมพ์ไว้ หรืออาจเป็นภาพเด่นของเรื่องในเล่มก็ได้
       1.6 หน้าปกใน (Title Page) หน้าปกในต้องอยู่ด้านขวามือเสมอ หน้านี้บรรจุข้อความที่เป็นชื่อเรื่องที่สมบูรณ์ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบรรณาธิการ ชื่อผู้รวบรวม ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือและชื่อสำนักพิมพ์ หน้านี้ถือว่าสำคัญที่หนังสือทุกเล่มจำเป็นจะต้องมี
       1.7 หน้าลิขสิทธิ์ (Copyright Date) เป็นหน้าที่อยู่ด้านหลังของหน้าปกใน มักเป็นหน้าที่แจ้งปีที่พิมพ์หนังสือเล่มนั้น ครั้งที่พิมพ์ บางครั้งอาจแจ้งที่ตั้งของสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือเล่มนั้นด้วย
       1.8 หน้าคำนำหรือคำชี้แจง (Preface หรือ Introduction) หน้านี้มีไว้เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้นๆ
       1.9 หน้าสารบัญ (Contents หรือ Table of Contents) ส่วนใหญ่จะอยู่ต่อจากหน้าคำนำ แสดงให้ทราบว่า เนื้อเรื่องของหนังสือแบ่งเป็นบทต่างๆ แต่ละบทอยู่ที่หน้าใด หรือแสดงให้ทราบว่าเนื้อเรื่องตอนต่างๆ ปรากฏอยู่ที่หน้าใดบ้าง

2. ส่วนเนื้อเรื่อง (Text หรือ Body of the Book) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหนังสือ หน้าแรกของเรื่องมักจะใช้หน้าด้านขวามือ ข้อความบรรทัดแรก ซึ่งอาจเป็นหัวข้อหรือคำขึ้นต้นบรรทัดแรก ควรจะย่อหน้าต่ำจากบรรทัดของหน้าสักเล็กน้อย เพื่อให้ดูสะดุดตา เรียกความสนใจในการอ่าน หน้านี้จะถือว่าเป็นหน้า 1 ของหนังสือ เลขหน้าควรอยู่บนสุดหรือล่างสุด ไว้ตรงกึ่งกลางหน้าหนังสือ มีข้อความไม่หนาแน่นมากนัก
หน้าเนื้อเรื่องและภาพประกอบ จัดเรียงลำดับตั้งแต่หน้า 1..... ไปจนจบเล่ม เมื่อขึ้นต้นบทใหม่ หรือหัวข้อใหม่ อาจจะขึ้นหน้าใหม่ก็ได้เพื่อเรียกความสะดุดตา หน้าขึ้นต้นใหม่ควรอยู่ด้านซ้าย

3. ส่วนประกอบตอนท้าย มักจะมีในหนังสือประเภทสารคดีมากกว่าหนังสือที่อ่านเพื่อความรื่นรมย์ ส่วนประกอบตอนท้ายเป็นส่วนที่มีประโยชน์ในการค้นคว้าเพิ่มเติม และต้องการรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่ใส่ไว้ในเนื้อเรื่อง ได้แก่
      3.1 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นรายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงประกอบการเรียบเรียงเนื้อเรื่องทั้งหมด รวมทั้งเชิงอรรถที่ปรากฏในส่วนเนื้อเรื่องด้วย บรรณานุกรมเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับหนังสือประเภทสารคดีวิชาการ
      3.2 หน้ากิจกรรม (Suggested Activities) เป็นหน้าที่บรรจุข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการทบทวนและเสริมความเข้าใจในเนื้อเรื่องให้แน่นแฟ้นขึ้น
      3.3 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นหน้าที่อธิบายความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง คำศัพท์ที่นำมาอธิบาย มักเรียงตามลำดับตัวอักษร หน้านี้อาจไม่จำเป็นต้องมีในหนังสือทุกเล่ม
      3.4 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่อธิบายเพิ่มเติมที่รวมไว้ต่างหากจากเนื้อเรื่องเพื่อช่วยเสริมเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภาคผนวกไม่จำเป็นต้องมีในหนังสือทุกเล่ม
      3.5 หน้าดัชนี (Index) หน้าดัชนี เป็นสารบัญสำหรับค้นเรื่องอยู่ท้ายเล่ม มีประโยชน์มากสำหรับหนังสือประเภทสารคดีวิชาการ เพราะช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นเรื่องต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
หน้าต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบตอนท้าย ใช้เลขหน้าชุดเดียวกับส่วนเนื้อเรื่อง
ปกและการออกแบบปก
1. ตั้งชื่อเรื่องให้สะดุดตา เร้าความสนใจ ให้ชื่อเรื่องบ่งบอกบรรยากาศในเรื่อง เช่น ปลาวาฬน้อย กวางอารี ไข่ขอขา หวานอยู่ไหน
2. ให้สีปกสดใสเพื่อดึงดูดใจผู้อ่าน
3. ภาพปกสอดคล้องกับเรื่อง
4. ภาพหน้าปกไม่ควรเป็นตอนที่ซ้ำกับภาพในเรื่อง
5. มีชื่อผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบปรากฏบนปก
6. ทำปกให้ประณีต บรรจง
การจัดหน้าของหนังสือ
การจัดหน้าของหนังสือ ควรคำนึงถึงหลักศิลปะ 5 ประการดังนี้
1. หลักสมดุลย์
2. หลักเอกภาพ
3. หลักการเป็นศูนย์สนใจ
4. การเว้นช่องว่าง
5. หลักการนำสายตา

การเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก
ความสำคัญของภาพประกอบ

           เนื่องจากเด็กชอบอ่านหนังสือด้วยภาพมากกว่าด้วยตัวหนังสือ “ภาพ” จึงเป็นหัวใจของหนังสือสำหรับเด็ก ภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กจะทำหน้าที่สร้างภาพพจน์ในใจของเด็ก ช่วยให้เด็กเข้าในเนื้อเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น เพราะภาพสามารถอธิบายเรื่องได้ดีกว่าตัวหนังสือ ภาพประกอบหนังสือมีบทบาทดังนี้
1. ภาพช่วยเสริมเนื้อหาสาระและเรื่องราว ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด และยังเป็นตัวแทนหรือภาพจำลองของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสิ่งของ สถานที่ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์กลไก เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องไกลตัว หรือผู้อ่านไม่มีโอกาสได้เห็น สัมผัส หรือมองเห็นได้ด้วยตา

2. ภาพช่วยดึงดูดใจ ความน่าสนใจเบื้องต้นของภาพประกอบหนังสือจะต้องมีคุณภาพ ทั้งในด้านความสวยงาม ความถูกต้อง ความชัดเจน และมีรายละเอียดของภาพหรือเนื้อหาในภาพสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจเรื่องอ่านได้อย่างถูกต้องมากขึ้น



4. ภาพช่วยสนองจุดมุ่งหมายเฉพาะ หนังสือสำหรับเด็กเล็กบางเล่ม ผู้แต่งอาจใช้ภาพประกอบชักชวนผู้อ่านให้มีส่วนร่วมในเรื่อง เช่น ให้หาว่ามีสัตว์อะไรในภาพ และมีคำเฉลยในหน้าถัดไป เป็นต้น จุดมุ่งหมายเฉพาะที่อาจจะใช้ภาพเป็นเครื่องมือเช่น เพื่อล้อเลียน เสียดสี เปรียบเทียบ สรุป อภิปราย ขยายความคิดให้กว้างไกล เป็นต้น
3. ภาพช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ภาพประกอบที่ผู้วาดภาพใช้สี เส้น แสง และเงาสวยงามสะท้อนฉาก เหตุการณ์ และอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครประกอบกับบรรยายด้วยท่วงทำนองที่ให้ความรู้สึกและอารมณ์สอดคล้องกับภาพ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามชื่นชมในความงามอ่อนช้อยของเส้น แสง และสีสัน ทำให้เกิดจินตนาการลึกซึ้งและกว้างไกลยิ่งขึ้น 
4. ภาพช่วยสนองจุดมุ่งหมายเฉพาะ หนังสือสำหรับเด็กเล็กบางเล่ม ผู้แต่งอาจใช้ภาพประกอบชักชวนผู้อ่านให้มีส่วนร่วมในเรื่อง เช่น ให้หาว่ามีสัตว์อะไรในภาพ และมีคำเฉลยในหน้าถัดไป เป็นต้น จุดมุ่งหมายเฉพาะที่อาจจะใช้ภาพเป็นเครื่องมือเช่น เพื่อล้อเลียน เสียดสี เปรียบเทียบ สรุป อภิปราย ขยายความคิดให้กว้างไกล เป็นต้น

การประเมินค่าวรรณกรรมสำหรับเด็ก

การประเมินค่าวรรณกรรมสำหรับเด็ก
วรรณกรรมที่ดีสำหรับเด็กหมายถึงวรรณกรรมหรือหนังสือที่เด็กอ่านแล้วสนุกสนานเพลิดเพลิน มีเนื้อหาสาระตรงกับใจที่เด็กอยากจะอ่าน มีรูปเล่มสีสันสวยสะดุดตา ผู้สร้างหนังสือสำหรับเด็กจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงลักษณะวรรณกรรมที่ดีสำหรับเด็กก่อนที่จะลงมือสร้าง เพราะเมื่อเข้าใจแล้วย่อมจะสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็กได้อย่างมีคุณภาพในทุกด้าน วรรณกรรมที่ดีสำหรับเด็กควรมีลักษณะดังนี้
            1. สนองความต้องการและความสนใจของเด็ก
            2. ส่งเสริมจินตนาการ ช่วยให้เด็กได้คิดก้าวไปไกลกว่าสภาพที่เคยพบเห็น
            3. ส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจ อบอุ่นใจ
            4. สนองอารมณ์ที่ปรารถนา
            5. ส่งเสริมความรู้

            คุณค่าของวรรณกรรมสำหรับเด็ก สามารถพิจารณาได้จาก

            1. เค้าโครงเรื่อง สำหรับเด็กต้องไม่ซับซ้อน มีแนวคิดหรือแก่นของเรื่อง (Theme) ที่เด่นชัด จับได้ง่าย ไม่เกินกำลังปัญญาของเด็ก ตัวละครควรอยู่ในวัยใกล้เคียงกับผู้อ่าน การวางโครงเรื่องต้องติดต่อสืบเนื่องเป็นเรื่องเป็นราว มีเหตุผลเป็นไปตามธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับพื้นฐานประสบการณ์ของเด็ก มีเงื่อนปมบางตอนที่ตลกขบขัน แสดงถึงความสำเร็จ ความสุข สมหวัง มีชื่อเรื่องกะทัดรัด เข้าใจง่าย และมีการดำเนินเรื่องที่กระตุ้นอารมณ์ สร้างความสนุกสนาน

            2. วิธีการเขียน นักเขียนต้องมีความสามารถในการเขียนให้สนุก ใช้ถ้อยคำสละสลวย อ่านเข้าใจง่าย เป็นภาษาที่นิยมใช้กันในสังคม ตรงกับลักษณะบุคลิกตัวละคร คงเส้นคงวา ตรงตามสมัยของเรื่อง และเรียบเรียงได้เหมาะสม สะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา ทั้งการใช้ภาษาในร้อยแก้วและร้อยกรอง อาจใช้การดำเนินเรื่องแบบเล่าเรื่อง หรือให้ตัวละครสนทนากัน แต่ต้องเป็นบทสนทนาสั้นๆ อาจมีการพรรณนาสลับบ้างก็ได้ แต่ต้องดำเนินเรื่องรวดเร็ว ข้อที่สำคัญ คือ ต้องมีภาพประกอบเรื่อง โดยภาพและเรื่องต้องอยู่ในหน้าเดียวกัน

            3. ภาพประกอบ ภาพประกอบที่ดีจะต้อง เป็นภาพที่ตรงเรื่อง สามารถเล่าเรื่องได้ดี ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ เป็นภาพไม่ซับซ้อน ดูแล้วเข้าใจง่าย เป็นภาพที่เขียนได้สวยงามตรงตามลักษณะของตัวละคร ตรงตามฉาก ตรงตามสถานที่และท้องเรื่อง ถูกต้องในเรื่องขนาดและสัดส่วนของภาพ และเป็นภาพที่ให้ชีวิต มีความรู้สึกและความเคลื่อนไหว

            4. รูปเล่มและเทคนิคการพิมพ์ เด็กชอบหนังสือที่มีปกสีสวยสด ชอบปกแข็งมากกว่าปกอ่อน และชอบปกมันๆ ที่เคลือบน้ำยาเงา มากกว่าปกหนังสือพิมพ์สีเดียว หรือพิมพ์หลายสีแต่ไม่เคลือบเงา การจัดหน้าหนังสือดูโปร่งตา ภาพกับตัวอักษรไม่ทับกัน และชื่อเรื่องดึงดูดความสนใจของเด็กก่อนที่จะเย็บเล่ม จะต้องมีการตรวจสอบตัวสะกดของต้นฉบับให้ถูกต้อง พิมพ์ตัวอักษรและภาพประกอบได้ชัดเจน มีสีสันได้งดงาม และดึงดูดความสนใจ ขนาดและรูปร่างของหนังสือควรขึ้นอยู่กับความสนใจและความง่ายในการหยิบฉวยของเด็ก เด็กชอบหนังสือที่พิมพ์ด้วยกระดาษที่มีคุณภาพดี ค่อนข้างแข็ง และเป็นกระดาษสีขาว วัสดุที่ใช้ในการเย็บเล่มต้องทนทานและต้องเย็บด้วยความประณีต เพื่อจะได้ทนทานต่อการหยิบถือของเด็ก

            5. ราคา ราคาของหนังสือสำหรับเด็กไม่ใช่ปัญหาของเด็ก แต่เป็นปัญหาของผู้ซื้อ (ผู้ปกครอง) เด็กชอบหนังสือทุกราคา แต่ผู้ใหญ่จะต้องเลือกหนังสือที่มีคุณภาพคุ้มกับราคา หรือหนังสือที่มีราคาไม่แพงเกินไป
สิ่งที่ควรระลึกเพิ่มเติมในการประเมินคุณค่าของวรรณกรรมหรือหนังสือสำหรับเด็ก ได้แก่ โครงเรื่องที่เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสภาพแวดล้อม สนองความต้องการของเด็กส่วนใหญ่ เรื่องราวกระตุ้นอารมณ์ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีแก่ผู้อ่าน ควรเป็นเรื่องราวที่มีความตลก สอดแทรกอารมณ์ขัน ภาพและเนื้อเรื่องมีความสอดคล้องต้องกัน พยายามใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย มีการซ้ำคำและจังหวะเพียงพอ จะช่วยเสริมให้เด็กอยากอ่าน ลักษณะตัวละคร ต้องมีบุคลิกประจำ ให้เป็นจุดสนใจแก่เด็ก ใช้บทสนทนาได้อย่างเหมาะสม และอ่านแล้วจัดกิจกรรมประกอบง่าย

เทคนิคการเล่านิทาน

เด็กกับจินตนาการ
               เด็กเป็นวัยที่มากด้วยโลกของจินตนาการอันกว้างไกล ผู้ใหญ่มักจะเป็นผูุ้็ถ่ายทอดเรื่องราวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตื่นเต้น เรื่องสนุกสนาน เรื่องเศร้าโศกเสียใจ เรื่องราวสะเทือนขวัญ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหรือสิ่งแวดล้อม เราจึงควรทำความเข้าใจกับการจินตนาการของเด็ก เพื่อจะสามารถเล่าหรือแต่งนิทานเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ อย่างสอดคล้องกับจินตนาการและความต้องการของเด็ก
การจินตนาการของเด็กพอจะแบ่งออกได้ดังนี้
               1. จินตนาการแบบอิสระ คือจินตนาการที่เด็กไม่มีประสบการณ์รองรับเลย เด็กจะใช้ความคิดคำนึงเฉพาะตัวเป็นหลักในการตัดสิน และส่งผลต่ออารมณ์ของตนเอง
               2. จินตนาการแบบมิติสัมพันธ์ เป็นจินตนาการของเด็กที่สามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นหรือได้ฟัง กับของที่เคยเห็นเคยฟังมาแล้ว แบ่งได้ 3 ขั้นตอนคือ
                      ขั้นที่1 คือเมื่อเด็กไำด้ฟังสิ่งใด หรือเห็นสิ่งใดแดล้วนึกถึงสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนหรือจินตนาการสิ่งที่เคยเห็นมก่่อน
                      ขั้นที่2 นอกจากเด็กจะเชื่อมโยงสิ่งที่ตนเห็นหรือได้ฟังกับอีกสิ่งหนึ่งแล้วเด็กยังจินตนาการไปถึงอารมณ์หรือความมีชีวิตชีวาของสิ่งนั้นๆด้วย
                      ขั้นที่3 เป็นการจินตนาการไปถึงสิ่งเหนือจริง ของวิเศษ สิ่งมหัศจรรย์ จินตนาการขั้นนี้เป็นขั้นที่เด็กๆใฝ่ฝันอยากจะมีกันทุกคน จะสังเกตได้ว่า ถ้าเราบอกว่า"มีกบอยู่ตัวหนึ่ง"เด็กๆก็จะฟังเฉยๆ แต่ถ้าบอกว่า"มีกบวิเศษอยู่ตัวหนึ่งสามารถพ่นไฟได้ด้วย"เด็กๆก็จะทำตาโตทีเดียว

นิทานกับความต้องการของเด็ก                ในบทที่1 เรื่องลักษณะทางจิตวิทยาเด็กที่เอื้อต่อการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก ได้กล่าวถึงความต้องการและความนใจของเด็ก ซึ่งเป็นส่วนประกอบอันสำคัญยิ่งสำหรับผู้ประพันธ ์วรรณกรรมสำหรับเด็กจะพิจารณา เพื่อนเขียนเรื่องราวให้ตรงกับความต้องการของเด็ก เพราะสาเหตุที่เด็กๆชอบฟังนิทานนั้น ไม่ใช้เพราะนิทานมีโลกจินตนาการเท่านั้น แต่นิทานหลายเรื่องมีการสนองความต้องการของเด็กๆแฝงอยู่ด้วย เด็กๆมีความต้องการมากมายพอสรุปได้ดังนี้คือ
               -ต้องการความรัก
               -ต้องการให้คนอื่นสนใจ
               -ต้องการให้ความรักแก่คนอื่น
               -ต้องการเล่น
               -ต้องการกิน
               -ต้องการสิ่งวิเศษมหัศจรรย์
               -ต้องการสิ่งสวยงาม
               -ต้องการสิ่งลึกลับ
               -ต้องการความขบขัน
                จากความต้องการดีงกล่าว ทำให้เราสามารถเลือกนิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังได้ นิทานที่เหมาะสมและควรเล่าให้เด็กฟังนั้น ควรเป็นนิทานที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทางเนื้อหาได้อรรถรส รูปแบบการใช้ถ้อยคำ สำนวนภาษา ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณภาพ ยกระดับสติปัญญาและจิตใจ

การเลือกนิทาน
                
ผู้เล่าหรืออ่านนิทานให้เด็กฟัง จะต้องเลือกนิทานให้เป็น เพราะนิทานที่มีอยู่ทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเด็กจะชอบทุกเรื่อง การเลือกนิทานควรพิจารณาสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
                1. นิทานเรื่องนั้นสนองความต้องการของเด็กได้มากน้อยเพียงไร
                2. เรื่องเล่าควรจะเลือกให้เหมาะกับวัยต่างๆของเด็ก
                3. เวลาที่ใช้ในการเล่าควรจะเหมาะสมกับช่วงระยะเวลาความสนใจและสมาธิในการฟังของเด็กวัยต่างๆ
                4. เนื้้อหาจะต้องมีสาระค่านิยม ความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมคุณณธมและจริยธรรม
                5. มีเนื่้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตาม กระตุ้นจินตนาการของเด็ก
                6. เป็นวรรณกรรมที่ดีทั้งโครงเรื่อง ลักษณะที่เด่นของตัวละคร การใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ไม่เคยตาย(Timelessness)
                7. ไม่ควรสร้างความขบขันบนความเจ็บปวดของคนอื่น และไม่ใช้ภาษาหรือปฏิบัติต่อเด็ฏในเชิงตำหนิติเตียนหรือดูหมิ่น
                8. กล่าวถึงอารมณ์มนุษย์อย่างระมัดระวัง เสนอแนะวิธีการที่สร้างสรรค์แก่เด็กในการเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ

การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
                 ผู้เล่านิทานเมื่อเลือกเรื่องของนิทานให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังและพอใจกับเนื้อเรื่องแล้ว ผู้เล่าจะต้องนำนิทานที่จะเล่ามาจัดเตรียมให้พร้อมก่อนจะดำเนินการเล่าดังนี้
                 1. ผู้เล่าจะต้องอ่านทบทวนเรื่องราวที่ผู้เล่าเลือกมา ให้เกิดความคุ้นเคย เข้าใจ และรู้จักเรืองที่เลือกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อจะได้เกิดความราบรื่นตลอดขณะดำเนินการเล่าี
                 2. ขั้นตอนการเล่า ผู้เล่าจะต้องพิจารณาในการนำเสนอการขึ้นต้นเรื่อง การเล่าเรื่องต่อเนื่องจนถึงกลางเรื่อง และการจบเรื่องให้ชัดเจน และน่าสนใจตามลักษณะเฉพาะของผู้เล่า
                 3. สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่า ผุ้เล่าจะต้องเตรียม และทดลองใช้ให้เกิดความชำนาญ และจัดระบบการใช้ตามลำดับก่อนหลัง
                 4. กิจกรรมประกอบการเล่านิทาน ผู้เล่าจะต้องเตรียมให้พร้อมและจะต้องเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟัง เช่น การร้องเพลงซ้ำๆ และง่าย คำพูดซ้ำๆ และง่าย การร้องขอให้ผู้ฟังมาช่วยร่วมแสดงกรือทำกิจกรรมด้วยขณะดำเนินการเล่า
                 5. สถานที่เล่า ผู้เล่าจต้องพิจารณาตามความเหมาะสมให้พอดีกับกลุ่มผู้ฟังเพราะ ผู้เล่าจะต้องจัดเตรียมสื่อให้พอเหมาะกับการมองเห็น และการฟังของผู้เล่า
                    นอกจากนี้ผู้เล่านิทานจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องอ่านนิทานซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยออกเสียงดังๆและจะต้องอ่านจนขึ้นใจในเรื่องราว ถ้อยคำ และการดำเนินเรื่อง ถ้ากลัวติดขัดขณะทำการเล่า ผู้เล่าจะต้องบันทึกย่อเพื่อกันลืม
วิธีเล่านิทาน
         
การเล่านิทานแบ่งได้ 5 วิธีได้แก่
                 1. เล่าปากเปล่า
                 2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบ
                 3. เล่าโดยใช้ภาพประกอบ
                 4. เล่าโดยใช้สื่อใกล้ตัว
                 5. เล่าโดยใช้ศิลปะเข้าช่วย

                 1. เล่าปากเปล่า ผู้เล่าต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะจุดสนใจของเด็กที่กำลังฟังนิทานจะอยู่ที่ผู้เล่าเท่านั้น วิธีเตรียมตัวในการเล่านิทานมีดังนี้
                           1.1 เตรียมตัวด้านเนื้อหาของนิทาน
                                -อ่านนิทานที่จะเล่าและทำความเข้าใจกับนิทานเสียก่อน
                                -จับประเด็นนิทานให้ได้ว่า นิทานที่จะเล่าให้อะไรแก่เด็กที่ฟัง
                                -แบ่งขั้นตอนของนิทานให้ดี
                                -การนำเสนอขั้นตอนของนิทานในขณะที่เล่า ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่อ่านเสมอไป
                                -เพิ่มหรือลดตัวละครเพื่อความเหมาะสมในการเล่า
                                 ที่สำคัญผู้เล่าต้องสามารถปรับนิทานให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กได้ด้วย เพราะถ้าเห็นว่าเด็กกำลังสนุกสนานก็เพิ่มเนื้อหาเข้าไปได้
                           1.2 น้ำเสียงที่จะเล่า
                                
ผู้เล่่าต้องมีน้ำเสียงที่น่าฟัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงที่ไพเราะ และที่สำคัญที่สุดคือการเว้นจังหวะ การเน้นเสียงให้ดูน่าสนใจ ไม่ควรให้น้ำเสียงราบเรียบมากเกินไป เสียงเบา-เสียงหนัก พูดเร็ว-พูดช้า ก็เป็นการบ่งบอกอารมณ์ของนิทานได้เช่นกัน
                           1.3 บุคลิกของผู้เล่านิทานต่อหน้าเด็กจำนวนมาก
                                 ต้องมีบุคลิกที่น่าสนใจสำหรับเด็กคือ
                                 -ไม่นิ่งจนเกินไป
                                 -ไม่หลุกหลิกจนเกินไป
                                 -ต้องมีการเลคื่อนไหวท่ีเหมาะสมกับเนื้อหาของนิทาน
                                 -มีการแสดงท่าทางที่เหมาะสมกับเนื้อหาของนิทานอย่างพอเหมาะพอเจาะ
                                 -มีท่าที่ผ่อนคลายและดูเป็นกันเองกับเด็กๆ
                           1.4 เสื้อผ้าที่สวมใส่
                                  ต้องเป็นเสื้อผ้าที่มั่นใจในการเคลื่อนไหว
                           1.5 บรรยากาศในการฟังนิทาน
                                  ต้องไม่วุ่นวายจนเกินไป อยู่ในสถานที่ที่สามารถสร้างสมาธิสำหรับคนฟังและคนเล่าได้เป็นอย่างดี
                  2. เล่าโดยใช้หนังสือประกอบการเล่า การใช้หนังสือประกอบการเล่านี้ หมายถึงการใช้หนังสือที่มีภาพประกอบ ผู้ที่จะใช้หนังสือภาพต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
                           2.1 อ่านนิทานให้ขึ้นใจ เวลาเล่าจะไ้ด้เปิดหนังสือภาพให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เล่า
                           2.2 ศึกษาความหมายของสีที่ใช้ประกอบภาพ เพราะหนังสือสำหรับเด็กมักจะใช้สีเป็นสื่ออารมณ์ของเรื่องด้วย
                           2.3 ศึกษาภาพประกอบที่เป็นปกหน้าปกหลัง เพราะบางเรื่องตอนเริ่มเรื่องอยู่ที่หน้าปก และตอนจบอยู่ที่ปกหลังก็มี
                           2.4 การถือหนังสือ ต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพประกอบได้อย่างทั่วถึง ถ้าผู้ฟังนั่งเป็นรูปครึ่งวงกลม ต้องมีการยกภาพให้มองเห็นทั่วทั้งหมด