ความต้องการของมนุษย์
ในการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็กจำเป็นต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็กแต่ละวัยดังนั้นจึงจำเป็นต้องทราบถึงวัยของเด็กควบคู่ไปกับความต้องการของเด็กจึงจะสามารถสร้างวรรณกรรมได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงเราสามารถจำแนกความต้องการ ได้เป็น2 ประเภทได้แก่ ความต้องการทางร่างกาย คือความต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อตอบสนองร่างกาย และ ความต้องการทางจิตใจ หรือความต้องการทางจิตใจ คือ ความต้องการเพื่อตอบสนองอารมณ์หรือความรู้สึกของตนเอง
ความต้องการของเด็กจำแนกตามวัย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการสร้างวรรณกรรมสำหรับเด็ก จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความต้องการของเด็กแต่ละวัยเสียก่อน จึงจะสามรารถสร้างวรรณกรรมได้อย่างเหมาะสมและมีคุณค่า ความต้องการของเด็กแต่ละวัยได้มีผู้ศึกษากันมามาก ผลจากการศึกษาพอจะสรุปได้ดังนี้
1. วัยเด็กตอนต้น
- ต้องการความรัก ความสนใจจากพ่อแม่ และแสดงความรักต่อสิ่งต่างๆ อย่างเปิดเผย
- ต้องการการยอมรับจากสังคม
- ต้องการให้ผู้ใหญ่เอาใจใส่ตนด้วยการซักถาม
- ต้องการความเห็นชอบจากผู้ใหญ่
- ต้องการแนะแนวทางและเอาอย่างผู้ใหญ่
- ต้องการเสรีภาพในการเคลื่อนไหว
- ต้องการมีเพื่อน
- ต้องการการยกย่อง
2. วัยเด็กตอนกลาง
- ความต้องการความสำเร็จ จะทำให้เด็กพอใจ ภาคภูมิใจ มีกำลังใจ และทำสิ่งอื่นต่อไปในอนาคต เด็กทุกๆ คนต้องการความสำเร็จในชีวิต
- ต้องการความเด่น การทำกิจกรรมใดก็ตาม เด็กต้องการชนะเพื่อน จึงต้องส่งเสริมความเด่นให้ถูกทาง
- ต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ต้องการความนิยมชมชอบจากเพื่อนๆ
- ต้องการความรัก ความอบอุ่นใจ ความเห็นอกเห็นใจจากคนอื่น
- ต้องการความปลอดภัย
- ต้องการคำยกย่องชมเชยและให้กำลังใจ
- ต้องการคำแนะนำมากกว่าคำสั่งแกมบังคับเคี่ยวเข็ญ
- ต้องการอยากรู้อยากเห็น อยากซักถามปัญหาต่างๆ
3. วัยเด็กตอนปลาย
- ต้องการพัฒนาความชำนาญหรือความสนใจในการงานของตน
- ต้องการความช่วยเหลือให้เข้าใจแบบแผนของความเจริญเติบโตตามธรรมชาติ
- ต้องการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ
- ต้องการยอมรับในความสามารถและการได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
- ต้องการความรักความอบอุ่นและการยกย่องชมเชยจากผู้ใหญ่
- ต้องการทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มซึ่งบางครั้งไม่ต้องการพึ่งผู้ใหญ่ กลุ่มหรือคณะมีอิทธิพลยิ่งสำหรับเด็กวัยนี้
- ต้องการอิสรภาพเป็นตัวของตัวเอง มักปลีกตัวออกจากพ่อแม่ ไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่เข้ามายุ่งในเรื่องส่วนตัว
4. วัยรุ่น
- ต้องการปรับปรุงสมรรถภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อจะได้มีส่วนในการผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค
- ต้องการที่รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์
- ต้องการที่จะเข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย
- ต้องการที่จะเข้าใจความสำคัญของครอบครัว และปัจจัยต่างๆ ที่จะนำมาซึ่งความสุขแห่งครอบครัว
- ต้องการที่จะทราบถึงวิธีจ่ายและใช้สิ่งของ ตลอดจนบริการต่างๆ อย่างฉลาด
-ต้องการที่จะเข้าใจถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์และความเจริญอันสำคัญทางวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดจนความจริงต่างๆ ตามธรรมชาติ
- ต้องการที่จะซาบซึ้งในรสแห่งวรรณคดี ดนตรี ศิลปะและธรรมชาติ กล่าวคือ ต้องการรู้คุณค่า มองเห็นความงดงาม และความไพเราะของสิ่งเหล่านั้น
- ต้องการที่จะมีความสามารถในการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์อย่างดี และรู้จักแบ่งสันปันส่วนเวลานั้นให้สมดุลกับกิจกรรมต่างๆ ของตน
- ต้องการที่จะให้ความเคารพนับถือแก่ผู้อื่น และให้ตนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยสงบสุข ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น
- ต้องการที่จะปรับปรุงความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างแจ่มแจ้ง และสามารถอ่านและฟังได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
ลักษณะทางจิตวิทยาเด็กที่เอื้อต่อการเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็ก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น