วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การจัดทำรูปเล่มหนังสือสำหรับเด็ก

การจัดทำรูปเล่มหนังสือสำหรับเด็ก
หนังสือสำหรับเด็กควรเป็นหนังสือที่เด็กสามารถตัดสินใจซื้อด้วยความพอใจของตนเองได้ จึงต้องมีจุดเด่นทั้งด้านภาพประกอบ เนื้อหา และรูปเล่ม  ผู้จัดทำต้องออกแบบส่วนประกอบต่างๆ ของหนังสือโดยใช้หลักเกณฑ์ทางศิลปะ  เพื่อให้หนังสือมีรูปแบบ ภาพ ขนาด ตัวอักษร และสีที่เด็กชื่นชอบ   ความสำคัญของรูปเล่ม  รูปเล่มมีความสำคัญต่อหนังสือในแง่ความสวยงาม การใช้ การเก็บรักษา เป็นสำคัญ   หนังสือที่มีรูปเล่มดีและเหมาะเจาะ ย่อมส่งผลให้เด็กๆ เกิดความอยากอ่านอยากซื้อ

รูปเล่มของหนังสือ
รูปเล่มของหนังสือมี 2 แบบ คือ
1. รูปเล่มแนวตั้ง หมายถึง รูปเล่มที่มีส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง รูปเล่มแนวตั้งเป็นที่นิยมในการพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป
2. รูปเล่มแนวนอน หมายถึง รูปเล่มที่มีส่วนสูงน้อยกว่าส่วนกว้าง รูปเล่มแนวนอนนิยมใช้สำหรับอัลบั้ม

ขนาดและรูปเล่มที่ด
ผลการวิจัยของ สมทรง สีตลายัน เรื่องขนาดและรูปเล่มที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย (ป.5-7) พบว่านักเรียนชอบรูปเล่มขนาดกว้าง 6 นิ้ว สูง 8 นิ้วครึ่ง ประเภทแนวตั้งมากที่สุดทุกระดับชั้น และนักเรียนชอบหนังสือแนวตั้งมากกว่าแนวนอน

ส่วนประกอบของหนังสือ
โดยทั่วไปหนังสือมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ส่วนประกอบตอนต้น ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย

1. ส่วนประกอบตอนต้น ประกอบด้วยหน้าต่างๆ ซึ่งไม่นิยมใส่เลขกำกับเลขหน้า หรือ จะใส่เลขหน้า ก็เป็นเลขอีกชุดหนึ่ง ส่วนประกอบตอนต้นมีหน้าต่างๆ ดังนี้
       1.1ใบหุ้มปก (Dust Jacket หรือ Book Jacket) ช่วยให้หนังสือสวยงามน่าจับต้องและหยิบอ่าน เป็นส่วนที่ช่วยดึงดูดสายตา และช่วยรักษาหนังสือให้ใหม่อยู่เสมอ
       1.2 ปก (Binding) เป็นสิ่งแรกที่ดึงดูดความสนใจของผู้ที่ได้พบเห็นหนังสือมปก การออกแบบปกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ภาพและชื่อเรื่องบนปกต้องสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และเป็นที่น่าสนใจเพื่อจะได้ติดตามอ่านเนื้อเรื่องในเล่ม
       1.3 ใบรองปก (Endpapers) ช่วยยึดตัวเล่มหนังสือให้ติดกับปก อาจปล่อยไว้เป็นหน้าว่างๆ ไม่มีข้อความใดๆ หรืออาจออกแบบลวดลายศิลปะที่งดงาม ซึ่งสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และเป็นที่น่าสนใจ
       1.4 หน้าบอกตอน หรือหน้าชื่อเรื่อง (Half-Title Pager) หน้านี้มีข้อความเฉพาะชื่อเรื่อง ชื่อชุด หรือคำอธิบายสั้นๆ หน้าบอกตอนอาจจะมีหรือไม่ก็ได้ หน้าบอกตอนช่วยทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ ป้องกันหน้าปกในมิให้ฉีกขาดง่าย หรือสกปรกง่าย และเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเนื้อเรื่องให้ต่อเนื่องกับใบรองปกซึ่งอยู่ต่อจากปก มักเป็นกระดาษว่าง
       1.5 หน้าว่างก่อนหน้าปกใน หรือหน้าว่างหลังใบรองปก หรือหน้าบอกตอน หน้านี้อาจปล่อยให้ว่างไว้ หรือจะมีภาพเต็มหน้า ซึ่งเป็นภาพเด่น (Frontispiece) ที่สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องมาพิมพ์ไว้ หรืออาจเป็นภาพเด่นของเรื่องในเล่มก็ได้
       1.6 หน้าปกใน (Title Page) หน้าปกในต้องอยู่ด้านขวามือเสมอ หน้านี้บรรจุข้อความที่เป็นชื่อเรื่องที่สมบูรณ์ ชื่อผู้แต่ง ชื่อบรรณาธิการ ชื่อผู้รวบรวม ชื่อผู้วาดภาพประกอบ ชื่ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือและชื่อสำนักพิมพ์ หน้านี้ถือว่าสำคัญที่หนังสือทุกเล่มจำเป็นจะต้องมี
       1.7 หน้าลิขสิทธิ์ (Copyright Date) เป็นหน้าที่อยู่ด้านหลังของหน้าปกใน มักเป็นหน้าที่แจ้งปีที่พิมพ์หนังสือเล่มนั้น ครั้งที่พิมพ์ บางครั้งอาจแจ้งที่ตั้งของสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือเล่มนั้นด้วย
       1.8 หน้าคำนำหรือคำชี้แจง (Preface หรือ Introduction) หน้านี้มีไว้เพื่อแสดงวัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนั้นๆ
       1.9 หน้าสารบัญ (Contents หรือ Table of Contents) ส่วนใหญ่จะอยู่ต่อจากหน้าคำนำ แสดงให้ทราบว่า เนื้อเรื่องของหนังสือแบ่งเป็นบทต่างๆ แต่ละบทอยู่ที่หน้าใด หรือแสดงให้ทราบว่าเนื้อเรื่องตอนต่างๆ ปรากฏอยู่ที่หน้าใดบ้าง

2. ส่วนเนื้อเรื่อง (Text หรือ Body of the Book) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหนังสือ หน้าแรกของเรื่องมักจะใช้หน้าด้านขวามือ ข้อความบรรทัดแรก ซึ่งอาจเป็นหัวข้อหรือคำขึ้นต้นบรรทัดแรก ควรจะย่อหน้าต่ำจากบรรทัดของหน้าสักเล็กน้อย เพื่อให้ดูสะดุดตา เรียกความสนใจในการอ่าน หน้านี้จะถือว่าเป็นหน้า 1 ของหนังสือ เลขหน้าควรอยู่บนสุดหรือล่างสุด ไว้ตรงกึ่งกลางหน้าหนังสือ มีข้อความไม่หนาแน่นมากนัก
หน้าเนื้อเรื่องและภาพประกอบ จัดเรียงลำดับตั้งแต่หน้า 1..... ไปจนจบเล่ม เมื่อขึ้นต้นบทใหม่ หรือหัวข้อใหม่ อาจจะขึ้นหน้าใหม่ก็ได้เพื่อเรียกความสะดุดตา หน้าขึ้นต้นใหม่ควรอยู่ด้านซ้าย

3. ส่วนประกอบตอนท้าย มักจะมีในหนังสือประเภทสารคดีมากกว่าหนังสือที่อ่านเพื่อความรื่นรมย์ ส่วนประกอบตอนท้ายเป็นส่วนที่มีประโยชน์ในการค้นคว้าเพิ่มเติม และต้องการรายละเอียดต่างๆ ที่ไม่ใส่ไว้ในเนื้อเรื่อง ได้แก่
      3.1 บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นรายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงประกอบการเรียบเรียงเนื้อเรื่องทั้งหมด รวมทั้งเชิงอรรถที่ปรากฏในส่วนเนื้อเรื่องด้วย บรรณานุกรมเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับหนังสือประเภทสารคดีวิชาการ
      3.2 หน้ากิจกรรม (Suggested Activities) เป็นหน้าที่บรรจุข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการทบทวนและเสริมความเข้าใจในเนื้อเรื่องให้แน่นแฟ้นขึ้น
      3.3 อภิธานศัพท์ (Glossary) เป็นหน้าที่อธิบายความหมายของศัพท์ต่างๆ ที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง คำศัพท์ที่นำมาอธิบาย มักเรียงตามลำดับตัวอักษร หน้านี้อาจไม่จำเป็นต้องมีในหนังสือทุกเล่ม
      3.4 ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่อธิบายเพิ่มเติมที่รวมไว้ต่างหากจากเนื้อเรื่องเพื่อช่วยเสริมเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภาคผนวกไม่จำเป็นต้องมีในหนังสือทุกเล่ม
      3.5 หน้าดัชนี (Index) หน้าดัชนี เป็นสารบัญสำหรับค้นเรื่องอยู่ท้ายเล่ม มีประโยชน์มากสำหรับหนังสือประเภทสารคดีวิชาการ เพราะช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นเรื่องต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว
หน้าต่างๆ ที่เป็นส่วนประกอบตอนท้าย ใช้เลขหน้าชุดเดียวกับส่วนเนื้อเรื่อง
ปกและการออกแบบปก
1. ตั้งชื่อเรื่องให้สะดุดตา เร้าความสนใจ ให้ชื่อเรื่องบ่งบอกบรรยากาศในเรื่อง เช่น ปลาวาฬน้อย กวางอารี ไข่ขอขา หวานอยู่ไหน
2. ให้สีปกสดใสเพื่อดึงดูดใจผู้อ่าน
3. ภาพปกสอดคล้องกับเรื่อง
4. ภาพหน้าปกไม่ควรเป็นตอนที่ซ้ำกับภาพในเรื่อง
5. มีชื่อผู้แต่ง ผู้วาดภาพประกอบปรากฏบนปก
6. ทำปกให้ประณีต บรรจง
การจัดหน้าของหนังสือ
การจัดหน้าของหนังสือ ควรคำนึงถึงหลักศิลปะ 5 ประการดังนี้
1. หลักสมดุลย์
2. หลักเอกภาพ
3. หลักการเป็นศูนย์สนใจ
4. การเว้นช่องว่าง
5. หลักการนำสายตา

การเขียนภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก
ความสำคัญของภาพประกอบ

           เนื่องจากเด็กชอบอ่านหนังสือด้วยภาพมากกว่าด้วยตัวหนังสือ “ภาพ” จึงเป็นหัวใจของหนังสือสำหรับเด็ก ภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กจะทำหน้าที่สร้างภาพพจน์ในใจของเด็ก ช่วยให้เด็กเข้าในเนื้อเรื่องที่อ่านได้ดีขึ้น เพราะภาพสามารถอธิบายเรื่องได้ดีกว่าตัวหนังสือ ภาพประกอบหนังสือมีบทบาทดังนี้
1. ภาพช่วยเสริมเนื้อหาสาระและเรื่องราว ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็ว ไม่ผิดพลาด และยังเป็นตัวแทนหรือภาพจำลองของเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสิ่งของ สถานที่ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์กลไก เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องไกลตัว หรือผู้อ่านไม่มีโอกาสได้เห็น สัมผัส หรือมองเห็นได้ด้วยตา

2. ภาพช่วยดึงดูดใจ ความน่าสนใจเบื้องต้นของภาพประกอบหนังสือจะต้องมีคุณภาพ ทั้งในด้านความสวยงาม ความถูกต้อง ความชัดเจน และมีรายละเอียดของภาพหรือเนื้อหาในภาพสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจเรื่องอ่านได้อย่างถูกต้องมากขึ้น



4. ภาพช่วยสนองจุดมุ่งหมายเฉพาะ หนังสือสำหรับเด็กเล็กบางเล่ม ผู้แต่งอาจใช้ภาพประกอบชักชวนผู้อ่านให้มีส่วนร่วมในเรื่อง เช่น ให้หาว่ามีสัตว์อะไรในภาพ และมีคำเฉลยในหน้าถัดไป เป็นต้น จุดมุ่งหมายเฉพาะที่อาจจะใช้ภาพเป็นเครื่องมือเช่น เพื่อล้อเลียน เสียดสี เปรียบเทียบ สรุป อภิปราย ขยายความคิดให้กว้างไกล เป็นต้น
3. ภาพช่วยเสริมสร้างจินตนาการ ภาพประกอบที่ผู้วาดภาพใช้สี เส้น แสง และเงาสวยงามสะท้อนฉาก เหตุการณ์ และอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครประกอบกับบรรยายด้วยท่วงทำนองที่ให้ความรู้สึกและอารมณ์สอดคล้องกับภาพ ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามชื่นชมในความงามอ่อนช้อยของเส้น แสง และสีสัน ทำให้เกิดจินตนาการลึกซึ้งและกว้างไกลยิ่งขึ้น 
4. ภาพช่วยสนองจุดมุ่งหมายเฉพาะ หนังสือสำหรับเด็กเล็กบางเล่ม ผู้แต่งอาจใช้ภาพประกอบชักชวนผู้อ่านให้มีส่วนร่วมในเรื่อง เช่น ให้หาว่ามีสัตว์อะไรในภาพ และมีคำเฉลยในหน้าถัดไป เป็นต้น จุดมุ่งหมายเฉพาะที่อาจจะใช้ภาพเป็นเครื่องมือเช่น เพื่อล้อเลียน เสียดสี เปรียบเทียบ สรุป อภิปราย ขยายความคิดให้กว้างไกล เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น